“PACA #1 Night” ทูตวัฒนธรรม พลังแห่งความสำเร็จ
“PACA #1 Night” ทูตวัฒนธรรม พลังแห่งความสำเร็จ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย เปิดโครงการอบรมหลักสูตร ผู้บริหารทูตศิลปวัฒนธรรมรุ่นที่ 1 (Program of Art and Cultural Ambassador) หรือ PACA เนื่องในโอกาสพิเศษที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ 36 ปี ในปี 2562 เปิดโอกาสให้ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ผู้มีคุณวุฒิเหมาะสม เข้าอบรมและศึกษาศิลปะ วัฒนธรรมทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ด้านดุริยางคศิลป์, นาฏศิลป์, ทัศนศิลป์, คีตศิลป์ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความลุ่มลึกทางสุนทรียะ เป็นทูตแห่งประเทศไทย ในการเผยแพร่ศิลปะ และวัฒนธรรมได้สง่างามเป็นที่ภาคภูมิใจของชาติ
ล่าสุด 27 นิสิตผู้ร่วมโครงการ ได้เข้าพิธีรับใบประกาศนียบัตร โครงการอบรมหลักสูตร ผู้บริหารฑูตศิลปวัฒนธรรมรุ่นที่1 จาก ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ก่อนฉลองความสำเร็จร่วมจัดงาน “PACA #1 Night” ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย จัดเต็มอลังการงานสร้างโชว์ความสามารถในศิลปะแขนงต่างๆ ที่ทางโครงการได้เปิดเวทีให้มีการแสดง
ปฐมบทการแสดงด้วยเพลง “รัชกาลที่10 พระราชาทรงพระเจริญ” โดย พ.ต.อ ดร.ไพรัตน์ ไพพรรณรัตน์, แมน-วทัญญู มุ่งหมาย ขับเสภา ชุด “ศิลปวัฒนธรรมไทยก้าวไกลในสังคมโลก”และการรำโขน ชุดนางลอยเบญจกายแปลง จากนั้นคุณ มยุรี เตยะราชกุล ประธาน PACA #1 กล่าวรายงาน และเรียนเชิญ ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงาน
ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบเข็มรุ่นแด่นิสิต PACA #1 และมอบโล่แก่ผู้สนับสนุนการจัดงาน พร้อมกล่าวให้โอวาทแก่นิสิตที่จบโครงการอบรมหลักสูตร ผู้บริหารฑูตศิลปวัฒนธรรมรุ่นที่1 จากนั้น ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ และคุณ มยุรี เตยะราชกุล ประธาน PACA #1 ตัวแทนนิสิตทั้ง 27 ท่าน ได้มอบเงินเบื้องต้นจำนวน 400,000 บาท สมทบทุนเพื่อสร้างหอประชุมคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นายเฉลิมพล ทันจิตต์รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมแสดงความยินดี
สำหรับ 27 นิสิตโครงการหลักสูตรผู้บริหารทูตศิลปวัฒนธรรม รุ่นที่1 มีคุณมยุรี เตยะราชกุล ประธานรุ่น
ทั้งนี้คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพันธกิจในการผลิตบุคลากรที่สามารถทำหน้าที่ เป็นทูตศิลปวัฒนธรรมรั้วจามจุรี และเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ให้ปรากฏในเวทีโลกได้อย่างมั่นใจ สง่างาม และเป็นที่น่าภาคภูมิใจของชาติ ตามสโลแกน “ศิลปวัฒนธรรมไทยก้าวไกลในสังคม”