แฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์รักษ์โลก..เทรนด์นี้มาแรง

แฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์รักษ์ โลก..เทรนด์นี้มาแรง  

นักออกแบบระดับโลก ลอเรน  เค. แลนซี (Ms. Lauren K. Lancy) เผยว่า เมื่อเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้ อมกำลังอยู่ ในความสนใจของกระแสโลก ผู้บริโภคต่างเลือกผลิตภัณฑ์ที่สนองตอบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์เหล่านี้มากขึ้น จากเทรนด์ดังกล่าว ดีไซน์เนอร์และผู้ผลิตจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ สร้างโอกาส และเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าในตลาดสากลอย่างยั่งยืน

                                      (บน) ลอเรน  เค. แลนซี (Ms. Lauren K. Lancy)

นางสาวลอเรน  เค. แลนซี (MsLauren KLancyนักออกแบบระดับโลกและผู้ก่อตั้ง The Kindcraft ออนไลน์แมกกาซีนที่ได้รับความนิ ยมในกลุ่มผู้อนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริ โภคและเทรนด์ของการออกแบบสินค้ าไลฟ์สไตล์ในปัจจุบั นในโครงการพัฒนาและส่งเสริมสิ นค้าไลฟ์สไตล์เพื่อสิ่งแวดล้อม “EcoDesign Trends Conference 2017 ว่า “ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลกให้ ความสำคัญกับสุขภาพ (The Global Wellness Trend) มากขึ้น ต่างหันมาออกกำลังกาย รู้จักเลือกรับประทานอาหาร เลือกใช้ชีวิต รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ก็ยังเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี กระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่ งแวดล้อม ทำให้ดีไซน์เนอร์และผู้ผลิตที่ ต่างเลือกผลิตสินค้าที่คำนึงถึ งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรั บออกกำลังกาย อุปกรณ์การออกกำลังกายที่ผลิ ตจากวัสดุธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์อาหาร/เครื่องปรุ งอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อสุ ขภาพ อย่างสินค้ากลุ่มแฟชั่นนั้น ผู้บริโภคไม่ได้สนใจแค่แบบที่ เห็นแค่ภายนอก แต่มองลึกเข้าไปถึงต้นตอการผลิต ว่าโรงงานผลิตเป็นใคร มีกระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่ งแวดล้อมหรือไม่ สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติแค่ไหน การใช้กระดาษ พลาสติก การขนส่งมีปริมาณมากน้อยเพียงใด พิจารณาไปจนถึงสิทธิมนุษยชนของลูกจ้าง เพราะแฟชั่นนั้นมีวงจรที่สั้ นมาก มาเร็วไปเร็ว เสื้อผ้าที่ตกเทรนด์ย่อมถูกทิ้งเป็นขยะ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากมีการผลิตเสื้อผ้าที่อิงแฟชั่ นมากเกินไป ก็มีแนวโน้มที่จะเกิ ดขยะจำนวนมากได้เช่นกัน

เทรนด์ของแฟชั่นในปัจจุบันจึงหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในแง่การเลือกใช้วัตถุดิบ การดูแลรักษาเสื้อผ้าหลังจากผลิตออกไป มีความเป็นมินิมอล (Minimal) ผู้ผลิตมีการผลิตเสื้อผ้าที่ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น แม้แต่ผู้บริโภคเลือกซื้อเสื้อผ้าที่มีราคาสูงกว่าปกติเพื่ อให้ใช้ได้ยาวนานขึ้น จึงเกิดเป็นเทรนด์ “สโลว์ แฟชั่น สโลว์ ไลฟ์” (Slow Fashion Slow Lifestyle) มีการยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้าให้ใช้งานได้ยาวนาน เพราะการยืดอายุเสื้อผ้าให้ นานขึ้นอีก เดือน จะช่วยลดมลภาวะขยะได้ถึง 2030% เมื่อเกิดวิถีที่เปลี่ ยนไปของไลฟ์สไตล์เช่นนี้ ทำให้ธุรกิจซ่อมแซมเสื้อผ้าหรื อบริการหลังการขายของกลุ่มเสื้ อผ้าเครื่องใช้เติบโต ถือเป็นวงจรที่เกื้อหนุนซึ่งกั นและกัน”   

%d bloggers like this: