ชิมไวน์ (wine Tasting)

การชิมไวน์

การ “ชิมไวน์” หรือ “ไวน์เทสติ้ง” (Wine Tasting) เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง ปัจจุบันอาจจะเพิ่มวิทยาศาสตร์ เข้าไปด้วยนะคะ ตอนนี้เพราะต้องอาศัยทั้งการศึกษา เรียนรู้จากประสบการณ์และการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำ ให้ไวน์มีหลากหลายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนซึ่งการชิมไวน์นั้น ควรที่จะศึกษาเพื่อให้เราเข้าใจถึงไวน์มากยิ่งขึ้นเช่นกันคะ


ลักษณะของการชิมไวน์

เพื่อการตัดสินคุณภาพไวน์แบ่งเป็น 4 แบบหลัก ๆ คือ

1. Hedonic Tasting เป็นวิธีชิมที่ง่ายที่สุดคือ ผู้ชิมเพียงบอกว่าชอบหรือไม่ชอบเท่านั้นเอง

2. Difference Tasting ให้ผู้ชิมตัดสินว่าไวน์ที่ชิมนั้นมีความเหมือนหรือ แตกต่างกับไวน์ที่ใช้เป็นตัวคอนโทรล (Control) ซึ่งเป็นไวน์คุณภาพดีเยี่ยมที่เคยได้รับรางวัล

3. Rank Tasting ให้ผู้ชิมเรียงลำดับไวน์ โดยมีวิธีเรียงหลายแบบ เช่น ความหวาน แอซสิค (Asics) ปริมาณแอลกอฮอล์และคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเรียงจากสูงไปหาต่ำ หรือต่ำ ขึ้นไปสูง ก็ได้ เช่นกันคะ

4. Score Tasting ให้ผู้ชิมให้คะแนนไวน์ที่ชิม โดยเปรียบเทียบกับไวน์ที่ตั้งไว้เป็นมาตรฐานหรือคอนโทรล ผู้ชิมต้องตัดสินใจว่าไวน์ที่ชิมนั้นคุณภาพเป็น อย่างไร ด้อยกว่า หรือ ดีกว่า และอาจจะ ดีมากกว่า แล้วให้คะแนน กับไวน์นั้นๆ คะ


ชิมไวน์หรือ ไวน์ เทสติ้ง

Wine Tasting) แบ่งออกเป็น 3 – 4 ขั้นตอน ซึ่งมีการเรียกสั้น ๆ ว่า “3 ด.”คือ ดู ,ดม, ดื่ม, ขณะที่บางตำ ราแบ่ง เป็น ดูดม อม กลืน เป็นต้น

การดู (Sight) การดู คือ ดู เพื่อประเมินคุณภาพด้านกายภาพของไวน์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ดูความสดใส ดูสิ่งแปลกปลอมที่อาจ จะเจือปนอยู่ในน้ำ ไวน์ ดูอายุของไวน์และดูการไหลของน้ำ ไวน์จากขอบแก้ว ที่เรียกว่าขา (Leg) หรือน้ำตา (Tear) ของไวน์ ฯลฯ

– ขา (Leg) หรือน้ำ ตา (Tear) ของไวน์ สามารถบ่งบอกถึงเนื้อหนังมังสาหรือบอดี้(Body) ของไวน์แต่เนื่องจากขาของไวน์เกิดจากแอลกอฮอล์ กลีเซอรัล ( Acylglycerol )สารสกัดจากการหมักวัตถุดิบ และน้ำตาล เป็นต้น ไวน์ที่มีรสหวานจึงมีขาหรือน้ำตาลเสมอ จึงยากที่จะบอกถึงบอดี้ ของไวน์ส่วนไม่หวานหรือดราย (Dry) อาจดูที่ระยะเวลาที่ไหลของน้ำ ไวน์ถ้าไหลช้าแสดงว่าไวน์นั้นมีน้ำหนักหรือเนื้อหนังมังสาดีแต่ถ้าไหลเร็วแสดงว่าเนื้อหนังของไวน์น้อย เป็นต้นคะ

การชิมไวน์

การดม (Smell) เป็นการประเมินคุณภาพด้านกลิ่นของไวน์ และเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการชิมไวน์ การดมแบ่งเป็น 2 ครั้ง

ครั้งแรกเรียกว่า First Nose เป็นการดมเพื่อค้นหา อโรมา (Aroma) ของไวน์จะได้รู้ว่าไวน์นั้นมีกลิ่นอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่นผลไม้ เพื่อจะโยงไปถึงว่าไวน์นั้น ผลิตจากองุ่นพันธุ์อะไร การดมครั้งนี้อาจ จะหมุนหรือแกว่ง (Swirl) เบา ๆ

ดมครั้งที่ 2 เรียกว่า Second Nose เป็นการดมเพื่อค้นหาบูเกต์ (Bouguet) หรือกลิ่นซุกซ่อนอยู่ในน้ำ ไวน์การดมครั้งที่สองนี้ จำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแกว่งแก้วไวน์ค่อนข้างแรงกว่าการดมครั้งแรก และอาจจะต้องแกว่งหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ออกซิเจน (Oxygen )เข้าไปผสมผสานในน้ำ ไวน์ แล้วปลุกให้ กลิ่นต่าง ๆ ในน้ำ ไวน์แสดงตัวออกมา ที่สำคัญเมื่อเขย่าแล้วต้องรีบดมทันทีแล้วจะพบกลิ่นที่หลากหลาย ยิ่งไวน์คุณภาพดีเยี่ยมบูเกต์ยิ่งซับซ้อน

การดื่ม (Taste) เป็นการบอกคุณภาพของไวน์แก้วนั้นได้อย่างชัดเจน และ “การอม“ ก็รวมอยู่ในขั้นตอนนี้ เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน บาง คนแยกออกไปอีกขั้นหนึ่งเรียกว่า ดูดม อม กลืน เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับการดื่มในความหมายของการชิมไวน์น่าจะหมายถึง “การจิบ” มากกว่า เนื่องจากถ้า เป็นการ “ดื่ม” ปริมาณไวน์ที่กลืนผ่านลำคอเข้าไปจะมีปริมาณมาก สามารถทำ ให้เมาได้แต่ถ้าจิบการกลืนจะไม่มาก ด้วยวิธีนี้ทำ ให้ผู้ชิมที่เชี่ยวชาญสามารถชิมไวน์ วันละเป็นร้อย ๆ ตัวได้เลยคะ

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่จะได้จากการดื่มก็คือ จะทำ ให้รู้ว่าไวน์ที่ชิมนั้นมีความกลมกล่อม “สม ดุลย์” หรือ “บาลานซ์” (Balance) หรือไม่ ?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.wine-now.com/blog/wine-tas-ting.html

ภาพจาก pixabay.com -Concord90, jill111,mokca

%d bloggers like this: