วนัสรา วงษ์สมุทร CEO เจ้าไอเดียพรั่งพรูผู้ไม่เคยหยุดนิ่งแห่ง SEEK TOUR

วนัสรา วงษ์สมุทร

CEO เจ้าไอเดียพรุ่งพรูผู้ไม่เคยหยุดนิ่งแห่ง SEEK TOUR

 

(บน) คุณโนบิตะ แถลงทิศทางและเป้าหมายในงานวันเปิดตัว SEEK TOUR 

“ซีคทัวร์ (SEEK TOUR) คือชื่อเว็บไซต์ของเรา คือแพลตฟอร์มหนึ่ง คือพื้นที่หนึ่ง หรือห้องๆหนึ่ง ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้มาเจอกันโดยเอาคนกลางออก ซึ่งหลายๆธุรกิจบนโลกใบนี้มันมีแล้ว เช่น Agoda หรือ Traveloka ซึ่งเป็นของต่างชาติทั้งนั้น ไม่มีของไทยเลย และเขาก็ออกแบบให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่ายมาก และสามารถจองกับผู้ผลิตได้เลย เป็นแพลตฟอร์มของการจองห้องพักโรงแรม คือวันนี้ ถ้าเราจองโรงแรมผ่านคนกลาง ผมว่ามันแปลกๆนะครับ เราสามารถจองโดยตรงผ่าน Agoda (บริษัทผู้ให้บริการสำรองห้องพักทางออนไลน์ สำหรับโรงแรมในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเป็นหลัก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์) และ Traveloka (ของบริษัทยูนิคอร์น-อินโดนีเซีย) เราสามารถเรียกรถแท็กซี่ได้เลยจาก Grab (ของมาเลเชียสัญชาติสิงคโปร์) โดยไม่ต้องไปผ่านสหกรณ์แท็กซี่อีก เราสามารถจองอพาร์ตเม้นต์ได้จาก แอร์บีแอนด์บี (Airbnb ของอเมริกา) กระทั่งตั๋วเครื่องบินเหมือนกัน เมื่อก่อนสมัยสัก 10 ปีที่แล้ว ถ้าเราไม่จองผ่านเว็บเราก็ต้องจองผ่าน เอเจ้นต์ แต่ตอนนี้เราสามารถจองผ่านสกายสแกนเนอร์ (skyscanner (สำนักงานใหญ่อยู่ที่เอดินเบอระ สหราชอาณาจักร)ได้เลย คือชีวิตเรากำลังไปดีขึ้นเรื่อยๆ แต่กลายเป็นว่ากับเรื่องทัวร์ นี่ ทำไมไม่มีแพลตฟอร์มเลย นี่คือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจของเรา ทำให้เรามี ซีคทัวร์ (SEEK TOUR) ขึ้นมา เพราะเราเห็นว่าทัวร์ในบ้านเรา ยังเป็นรูปแบบเดิมๆ แต่ไม่ว่ากันนะครับ เค้าเก่าแต่เค้าเก๋า เราก้อไปเพิ่มความสดให้กับพี่ๆเค้า ถึงยังไงเขาก็ เป็นพันธมิตรของเราอยู่ดี  อย่างหลายๆบริษัท ไปลงทุนทำโฆษณาเอง ลงทุนเยอะมากซึ่งต่างคนต่างทำ พันธมิตรของเราอย่างหนุ่มสาวทัวร์ เขาทำการตลาดเอง คนโน้นก็ทำเอง คนนี้ก็ทำเอง แต่มันจะดีกว่ามั้ยครับ ถ้าเผื่อมาขายในแพลตฟอร์มของเรา และเราทำการตลาดให้ มันจะง่ายขึ้นไหมครับ ผมมองว่าเขามีแต่จะดีขึ้นนะครับ เราก็จะได้ช่วยกันผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ไปด้วยกันทั้งประเทศเลย อย่างนี้มันน่าจะดีกว่า ไปด้วยกัน  มันไปได้ไกลนะครับ”

เป็นอารัมภบทที่ยาวเหยียดและได้สาระจาก คุณโนบิตะ- วนัสรา วงษ์สมุทร CEO มากพลังผู้ไม่เคยหยุดนิ่งของ ซีคทัวร์ (SEEK TOUR) ที่เรากำลังพูดถึงนั่นเอง

วันนี้ เราเลยมาอัพเดตเรื่องราวของ “ซีคทัวร์” จากคุณโนบิตะ (บน-ซ้ายสุด) กันอีกครั้ง

มาถึงวันนี้แล้ว ซีคทัวร์ เป็นอย่างไรบ้าง

“เราเพิ่งเปิดตัวมาได้สักพัก และเราเป็นธุรกิจแบบ บีทูซี (Business to Customer) คือลูกค้าของเราจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่ม business tour (ผู้ผลิตทัวร์) และ Consumer (ผู้บริโภค)  วันเปิดตัว เราเชิญกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตทัวร์มา เพราะฉะนั้นตอนนี้ กลุ่มพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิตทัวร์เราเยอะมากเลย ไปไกลมากแล้วครับ  มีคนรู้จักเราเยอะขึ้น มีคนมาจับมือเราเยอะขึ้น หลายๆบริษัทที่ไม่เชื่อใจเรา ตอนนี้เชื่อใจและมาจับมือร่วมเป็นพันธมิตร เดินไปกับเราเยอะขึ้น มากเลยครับ เค้าเชื่อมั่นในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตว่ามันดีกว่าเดินโดยลำพัง เพราะ อย่างที่เว็บเราทำ มันยังไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน เราแปลก เราแหวก และล้ำกว่าเพื่อน เพราะฉะนั้น กลุ่มที่เค้ายังไม่ค่อยเชื่อใจเรา พอเราเปิดตัวไป เค้าเริ่มมองเห็นการตลาด เริ่มเข้าใจ เริ่มมองเห็นภาพ เลยเริ่มมาจอยน์กับเรามากขึ้น ช่วงที่ผ่านมาเรารวบรวมผู้ผลิตทัวร์มาอยู่กับมือเรามากที่สุด รวมเบ็ดเสร็จ ได้ประมาณ 300 กว่ากรุ๊ปทัวร์ แต่จริงๆเราอยากให้มีเป็นหลักพันครับ หลายๆพันเลย ในอนาคตเราวางเป้าไว้เช่นนั้น เพราะสิ่งหนึ่งที่เราอยากทำ ก็คืออยากทำแบบ ไทยเที่ยวไทย ก้อคือ อย่างไปงานไทยเที่ยวไทย ที่ศูนย์สิริกิตติ์มา คนมาเดินในงานเยอะเลย ลูกค้าก็มากันเยอะ แต่น่าเสียดาย ที่งานไทยทั่วไทย มีไม่กี่วันเอง และทุกบริษัท ใช่ว่าจะไปจอยน์ได้หมด และที่ก็แคบครับ”

(บน -สามขุนพลจอมฉกาจ ของ SEEK TOUR, จากซ้ายไปขวา-คุณแป้ง,คุณปีเตอร์ และคุณโนบิตะ)

“เราเปิดเว็บ SEEK TOUR ขึ้นมา เราต้องการให้เว็บนี้เป็นอย่างงาน “ไทยเที่ยวไทย” ทุกคนเข้ามาเปิดดูได้เลย วาง Positioning ไว้ว่า เว็บเราจะเป็นงานไทยเที่ยวไทย ผูผลิตทัวร์ทุกคนสามารถมาวางโปรดักส์ขายได้เหมือนงานไทยเที่ยวไทยเลย และผู้บริโภคทุกคนก็สามารถเข้ามาดูไดแลยทุกวัน  เหมือนกับว่าเรามีงานไทยเที่ยวไทยทุกวัน มีทุกงาน มีทุกแบบ กว้าง 360 องศา ในเวลา 365 วัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้บริโภคสามารถเดินเลือกซื้อทัวร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา คนขายทัวร์ก็สามารถเอาทัวร์มาขายได้เลย ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องไปนั่งรองานไทยเที่ยวไทย ซึ่งมีปีละ 2ครั้ง และมีเวลาจำกัด มันเริ่ดกว่ามั้ยล่ะครับ” ว้าว ยอมรับว่า ไอเดีย CEO โนบิตะ ช่างแจ่มบรรเจิดจริงๆ

ตอกย้ำเอกลักษณ์หรือจุดเด่นของ SEEK TOUR ไปเลย

“ใช่ครับ แพลตฟอร์มของเรา คนขายก็เอาทัวร์มาขายได้ตลอด คนซื้อทัวร์ก็หาซื้อได้ตลอด ไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา  คราวนี้มันก็จะง่าย เรียกว่าซื้อง่ายขายคล่องครับ” เขาว่าพลางหัวเราะอย่างอารมณ์ดี

ขอทราบถึงแผนการตลาด

“เพราะงานไทยเที่ยวไทย มันจะมีไปเที่ยวต่างประเทศด้วย เค้าเรียกว่า “งานไทยเที่ยวไทย  ไปทั่วโลก” แผนการตลาดของเรานะครับ ตอนแรกเราจะเน้นเอาคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ แต่พอเราไปดูงานไทยเที่ยวไทยมาแล้ว โปรดัคส์ของเราในเฟสสองและสาม เราจะเน้นให้คนไทยไปเที่ยวในประเทศด้วย อย่างพันธมิตรของเราเช่น หนุ่มสาวทัวร์ ซึ่งเรารู้จักกันมาประมาณสี่สิบปีแล้ว เป็นเพื่อนเรามาตั้งแต่สมัยเด็ก ก็ได้มาจอยน์อยู่ในแพลตฟอร์มของเราแล้ว เพียงแต่ว่า เรารอทำระบบให้มันเรียบร้อย ระบบสำหรับให้คนที่อยากไปเที่ยวในเมืองไทย พอระบบเราเรียบร้อย ผู้ผลิตทัวร์ที่พร้อมจะมาลงกับเรานี่ มีเป็นร้อยๆ รายการเลยครับ เราอยากให้คนไทยไปเที่ยวในเมืองไทยด้วย เราคุยกันไว้เรียบร้อยแล้วรอเราพร้อมเท่านั้นเอง”

“ส่วนแผนต่อไป ตอนนี้เรามีทัวร์อยู่ในแพลตฟอร์มของเราเยอะแล้ว เราก็จะเริ่มขยายไปฝั่ง C (Consumer) แล้ว เพราะฝั่ง B (ฺฺBusiness Tour) เรามีพร้อมแล้ว ที่เราไม่เริ่มทำฝั่ง C ก่อน เพราะเมื่อไหร่ที่คนเข้ามาดูในแพลตฟอร์มแล้ว ไม่เห็นของ ไม่มีผลิตภัณฑ์ ไม่มีโปรดักส์ คนเค้าก็จะจำเอาไว้ แล้วจะไม่มาอีกเลย เราก็เลยทำตลาดฝั่ง ฺB ก่อน พอตลาดฝั่ง ฺB พร้อมปุ๊บ ของมีแล้ว เหมือนตัวเราเอง เวลาเราเข้าไปช้อปปิ้งที่ไหน เราเจอของเต็มเลย เราก็จะแฮปปี้ แต่ถ้าหากเราไปช้อปที่ที่ของก็ไม่ค่อยจะมี เราก็ไม่อยากมา นี่คือการเดินกลยุทธ์การตลาดของผมครับ”

“แผนการตลาดตอนนี้หันมาเริ่มฝั่ง C  คือเราเริ่มเมื่อเดือนมีนาคาที่ผ่านมา โดยเราจะสร้างฐานลูกค้าใหม่ ลูกค้าเราค่อนข้างจะยังไม่คุ้น เราต้องแนะนำตัว เปิดตัวให้ลูกค้ารู้จักและคุ้นเคย  มันเป็นเว็บที่ไม่ค่อยมีในเมืองไทยมาก่อน เพราะฉะนั้น แผนการตลาดของเราตอนนี้ก็คือ หลักๆเราจะสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาก่อน เราจะเริ่ม educate เริ่มสื่อสารให้เขารู้ว่าโปรดักส์เรามีอะไรบ้าง ซึ่งลูกค้าจะได้เห็นความแปลกใหม่คือ เอ๊ะ ทำไมตอนนี้ไม่ได้มีแค่ซีคทัวร์ ๆๆ แต่มีผู้ผลิตทัวร์อื่นๆให้เลือกซื้อมากมายกว่าสามร้อยยี่ห้อ เพราะฉะนั้นในสามเดือนต่อจากนี้ เราจะเริ่มสื่อสารกับลูกค้า ว่าโปรดักส์เรามีอะไร และแตกต่างจากเจ้าอื่นยังไง และมันสามารถทำให้ชีวิตเขาสะดวกสบายขึ้นยังไงบ้าง”

ขอทราบถึงกลุ่มเป้าหมายของ ซีคทัวร์

“กลุ่มเป้าหมายของเราตอนแรกนี้ เรามองในระดับวัยทำงานก่อน วัยทำงานที่เริ่มเป็นนักบริหารขั้นต้น จนถึงเจ้าของกิจการ หรือครอบครัว ซึ่งเรามองที่ตลาดพวกแพกเกจทัวร์ เพราะคนที่มีครอบครัวแล้วจะชอบไปท่องเที่ยวแบบแพกเกจ เราเลยมองคนอายุ 35 ขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าหลัก เนื่องจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของพวกแพกเกจทัวร์  คือกลุ่มที่อยากพาครอบครัวหรืออยากจะพาลูกๆหรือพ่อแม่ไปเที่ยว ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มที่ยังเป็นโสด ไม่มีครอบครัว มักจะไปเที่ยวด้วยตัวเอง เขาก็เปิดดูจากกูเกิล เลือกที่พักเอง เลือกหาร้านอาหารทานเอง เลือกการเดินทางเอง แต่เมื่อไหร่ที่เป็นครอบครัวแล้ว เขาอยากได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น การซื้อทัวร์แบบแพกเกจ ที่มีทุกอย่างพร้อมครบครัน จะสะดวกสบายกับชีวิตเขามากกว่า เราเลยเจาะตลาดกลุ่มนี้ กลุ่มที่เป็นนักบริหาร เจ้าของกิจการ ที่มีครอบครัวเป็นเป้าหมายหลักครับ แต่ในอนาคต เราแพลนไว้ว่า จะคอนเวิร์สกลับมามาหากลุ่มที่อยากไปเที่ยวเอง คนเดียว แต่ตอนเริ่มต้นนี้ เราขอโฟกัสไปที่กลุ่มแฟมิลี่ก่อน”

วางแผนสำหรับปี 2020 ไว้อย่างไร

“สำหรับปีหน้า 2020 เป้าหมายหรือโครงการที่วางไว้ ขอย้อนมาที่ปี2019 ก่อนนะครับ เพราะเป็นปีเริ่มต้นโปรดักสใหม่ของเรา  เราจะเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพเว็บ คุณภาพทัวร์  และประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีที่สุด พอปีนี้ ปีเริ่มต้น จากุจุดเล็กๆที่มีความแปลกใหม่ในวงการทัวร์ของเมืองไทย พอปีหน้าเรามีความหวังว่าอยากจะก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศ ปีหน้าเราอาจจะอินเตอร์ในกลุ่มเพื่อนบ้านเราก่อน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเวียดนาม พม่า ลาว ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็มีแพกเกจทัวร์เยอะ ประเทศเรามีพื้นที่ในการท่องเที่ยวเยอะ เราจะเริ่มขยายพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตเพื่อนบ้าน เซ้าท์อิสแอเชียก่อน แต่กลางปี 2019 เราจะต้องมั่นใจว่า ที่เราจะขยายนี้ มันตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีจริงๆแล้วหรือยัง เรามีความหวังว่าวันนึงเราจะเป็นเหมือนกับแกร๊บ เราจะเปิดไปทั่วเซาท์อิสเอเชียเลย เราหวังว่าจุดเล็กๆที่เริ่มในประเทศไทย จะขยายเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพที่ขยายและเติบโตในระดับอาเซียนของเราได้”

การแข่งขันในวงการนี้เป็นอย่างไรบ้าง

 เราต้องบอกว่า เราเป็นสินค้าใหม่ในตลลาดเก่า ความหมายคือ ตลาดท่องเที่ยวมันมีวอลลุ่มอยู่แล้ว แต่ถ้าจะถามว่าการแข่งขันสูงมั้ย สูงครับ แต่ว่าเนื่องจากโปรดักส์เราเป็นโปรดักส์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง เราเหลือแค่มีหน้าที่บอกเล่าผู้บริโคให้รับรู้ว่าของเรามีความแตกต่างกันยังไง ซึ่งจริงๆแล้วเรามองในเรื่องของสองมิติ คือมิติของราคาและคุณภาพ ซึ่งราคาของเรา ถ้าเกิดเป็นทัวร์ในทุกระดับ เราค่อนข้างทำราคาในระดับต้นทุนได้ดีกว่า เนื่องจากเราใช้เทคโนโลยี แบบ Call  คือใช้เทคโนโลยีมากกว่าการใช้แรงงานคน ส่วนเรื่องคุณภาพ เรามีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีอยู่เสมอ ปรับให้มีความรวดเร็ว ผู้ใช้บริการสามารถเลือกหาซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น ถ้าเราสื่อสารสองสิ่งนี้ให้ลูกค้าได้รับรู้ เราถือว่าโปรดักส์เราล้ำหน้าคู่แข่งอยู่หลายก่าวเหมือนกันครับ ถือว่าเป็นต่อ เราเชื่อว่าโมเดลเราเมื่อมันซักเซส เค้าตามมาแน่ แต่เของเราได้เปรียบเพราะเราเป้น First Move  เราก้าวก่อน ถ้าเขาตามเรามา เราก็ก้าวไปโน่นแล้ว ต้องบอกว่าธุรกิจทัวร์เอเจ้นต์ในไทยเรามองมาหลายๆ ปีเรายังไม่กล้าก้าวข้ามเพราะว่า มันเหมือนกับเรามีแท็กซี่ในไทยเยอะมาก แต่เราไม่เคยจะเอาแบบอูเบอร์หรือแกร๊บมาก้าวข้ามเค้า แต่พอสักวันมันมา ตรงนี้มันกลับตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่า ผมก็เชื่อว่าคนไทยก็คงจะก้าวข้ามตรงนี้ไปด้วยกัน มันเกิดประโยชน์ ทั้งผู้ขายและผู้บริโภคอยู่แล้วครับ เราต้องก้าวผ่านมันไปด้วยกัน

ปรัชญาการทำงานของCEO โนบิตะ

“จริงๆ แล้ว ปรัชญาของผมก็คือ เราจะต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา แต่มันต้องมีการ บาล้านซ์ กันระหว่างครอบครัวและเรื่องงาน ผมแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ก็ต้องบริหารเวลาสองอย่างคืองานและครอบครัว ให้ลงตัว เราก็เน้นว่าเวลาที่เราอยู่ในที่ทำงานเราก็ทำงานเต็มที่ แต่พอเราเสร็จจากการทำงาน ถึงเราอาจจะกลับบ้านช้า คือทุกวันนี้ กว่าผมจะจบจากการทำงาน เราอาจจะลากยาวไปถึงสองหรือสี่ทุ่ม แต่พอถึงบ้าน เราก็ถอดหัวโขนออก ตอนอยู่บ้านผมก็จะทำตัวเป็นผู้ให้ความสุขที่บ้าน อยู่กับภรรยา  เรายังไม่มีลูกครับ ก็มีแพลนว่าจะมีปีนี้ละครับ แต่ดันมีลูกคนนี้คือ ซีคทวัร์ ซะก่อน (หัวเราะ) สรุปว่า ยังไงเสีย ก็จะต้องแบ่งเวลาให้ชัดเจน 24   ชม.ของผมจะต้องอะไรบ้าง และอาทิตย์นึง เจ็ดวันเยี่ย ผมก็ ตามหลักคนทำงานออฟฟิศเลยครับ จันทร์ถึงศุกร์ จะอยู่ออฟฟิศ ตอนเย็นจะไม่มีไปงานสังสรรค์ที่ไหน สไตล์ผม ทำงานเสร็จก็กลับบ้านเลย อยู่กับภรรยา”

“ส่วนเสาร์อาทิตย์ ผมเรียกว่าเป็นเวลาสำหรับพัฒนาตัวเองมากกว่า ถ้าเผื่อมีเวลาว่าง ผมจะไปเข้าคอรสที่เกี่ยวกับการทำงาน อย่างล่าสุดผมไปเข้าคอร์สพัฒนา เรียก ยูอี (ยูสเซอร์ เอ๊กซ์พีเรียนซ์)  และยูไอ (ยูสเซอร์อินเตอร์เฟรด) ประมาณว่าทำยังไงลูกค้าถึงจะเข้ามาในเว็บของเราอย่างเข้าใจและอย่างมีความสุข อย่างนี้นะคะรับ อย่างพรุ่งนี้วันเสาร์ ก็จะไปอบรมเกี่ยวกับโลจิสติคส์ เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศ จริงๆแล้วมันก็ไม่เกี่ยวกับสายงาน แต่ว่า เราอยากรู้ เลยไปอบรมเพิ่มเติม เป็นเรื่องราวของการโกยความรู้ใส่ตัวให้เยอะๆ ก่อนที่จะกลายสถานภาพเป็นคุณพ่อมือใหม่ที่ต้องไปโฟกัสที่ลูก เพราะถึงเวลามีลูกแล้ว จะมีเวลาตรงนี้น้อยลงครับ”

ปรัชญาการใช้ชีวิต

“ผมเน้นในเรื่องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องครับ อะไรก็ได้ ขอให้เป็นเรื่องของการเรียนรู้ ผมไม่มีวันหยุดนิ่งครับ” คำตอบสั้น แต่กระจ่างชัด

ไลฟสไตล์ของผม

“เรียบง่ายมากเลยครับ ลุย ติดดิน ขอบท่องเที่ยว แต่จริงๆแล้วตอนนี้ผมต้องขอโฟกัสที่การทำงานมากกว่า แต่ผมไม่ใช่คนไสตล์คร่ำครื่ หรือเครียดกับการทำงานนะครับ เราทำงานจริงจังแต่อย่างมีความสุขมากกว่า และผมจะไม่มีแก๊ปกับลูกน้องเลยครับ หรือถ้ามี ก็จะน้อยมาก เราจะเป็นเหมือนพี่น้อง ทุกๆ วัน เวลาไปทำงาน เราเหมือนกับไม่ได้ทำงาน ทุกวันนี้อย่างไปเจอน้องแป้ง หรือน้องๆ ที่ออฟฟิศ มันเหมือนกับการได้ไปเจอกับเพื่อนฝูง เวลาไปทำงาน เหมือนเราไปเจอเพื่อนทุกวัน เราไปมีความสุข ได้เจอเพื่อนกลุ่มนึงที่มีความฝันด้วยกันและเราจะเดินไปด้วยกัน อย่างพวกน้องโปรแกรมเมอร์ ก็จะสนิทกัน เราก็ใช้ชีวิตแบ่งเป็นสามส่วนนะครับ ส่วนนึงมาทำงานก็จะสบายๆ เหมือนมาเจอเพื่อนๆ ทุกวันและมาเที่ยว ส่วนครอบครัวเราก็ดูแลให้ดีที่สุด และส่วนคอนเนคชั่นต่างๆที่เราต้องรู้จัก เราก็รักษาไว้ ให้ความสำคัญ ถ้ามีเวลาก็จะไปหาผู้หลักผู้ใหญ๋เพื่อคอนเน็คชั่น”

ฮอบบี้สุดโปรด

“ผมชอบอ่านหนังสือครับ อันนี้เป็นฮอบบี้สุดโปรดของผมเลยจริงๆ  หนังสือนี่ มาเถอะ อ่านได้อ่านดี แต่ไม่ทุกชนิดนะครับ อ่านที่ผมสนใจมากกว่า ผมจะสนใจหนังสือเชิงเศรษฐศาสตร์ หรือไม่ก็เกี่ยวกับจิตวิทยา และเทคนิคการบริหารในรูปแบบใหม่ๆ เมื่อก่อนเราทำงานสายงานทัวร์ เป็นการบริหารในรูปแบบเดิมๆ แต่พอเรามาอยู่ตรงนี้ เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ เว็บไซต์ การบริหารงานแบบเดิมมันใช้ไม่ได้แล้ว ทีนี้มันถึงเวลาแล้วที่เราต้องมาสร้างความรู้ใหม่กับตัวเอง เราก็จะอ่านหนังสือ”

“อย่างตอนเดินทาง ระหว่างนั่งรถไฟฟ้า มาให้สัมภาษณ์กับ So Celeb เนี่ย ผมก็อ่นเล่มนี้อยู่ ชื่อปก ” แค่ทดสอบก็ตอบโจทย์”  เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการทดสอบเว็บทั้งหมดเลย ว่าผู้เข้ามาใช้เว็บทั้งหลาย เขาสนใจแบนเนอร์ไหน คลิกตรงไหนก่อน คลิกตรงไหนหลัง เข้าหน้านี้แล้วจะไปหน้าไหนต่อ  การทำงานที่บริษัทเราแบ่งหน้าที่กันชัดเจน อย่างน้องแป้งเค้าจะดูแลเรื่อง บิสสิแนส ดีเวลอปเปอร์ เป็น โค-ฟาวน์เดอร์ ดูแลธุรกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะหาแหล่งเงินทุน พัฒนาธุรกิจให้มันเติบโต ส่วนผมจะทำในโปรดักส์ โอนเนอร์ ดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์มันจะต้องดี ดีกับคนในองค์กรและดีกับผู้บริโภค ที่จะผลิตโปรดักส์ แพลตฟอร์มที่โตๆ มันจะเป็นของฝรั่งซะส่วนใหญ่ ประเทศไทยเราต้องยอมรับว่าเรายังอ่อนด้วย ผมเลยต้องขับเคี่ยวตัวเองเรื่องความรู้ด้านนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”

เป้าหมายสุดยอดของ CEO โนบิตะ

“ผมมองประเทศอื่นๆ อย่างอินโดนีเซีย เค้ามี ยูนิคอร์น ซึ่งยูนิคอร์นคือบริษัทที่มียอด สามหมื่นล้านต่อปี มาเลเซียมีแกร๊บ  แต่ เอ๊ะ !ทำไมเมืองไทยถึงไม่มี เพราะฉะนั้น เป้าหมายสุดยอดของผม  ผมพยายามไม่คิดแบบคนไทยละ ผมจะคิดแบบฝรั่ง ว่าทำไม ทำไงมันจะขยายธุรกิจได้มากกว่านี้ คิดแล้วก็คิดว่าต้องทำได้ครับ  ผมมองระยะเวลา สามถึงห้าปีเป็นหลัก อย่างแกร๊บ กว่าจะมาถึงจุดนี้ก็ประมาณห้าปี หรือ อะโกด้า  เค้ามีมานานแล้ว เขาก้าวข้ามยูนิคอร์นไปเยอะ อะโกด้า น่าๆจะ สิบปี ของเราเพิ่งเปิดยังไม่ถึงปี แต่ภายใน 3 ถึง 5 ปี เป็นหลัก ผมวางเป้าหมายไว้ว่าเราจะเติบโตและก้าวข้ามจุดนี้ไปอินเตอร์ให้ได้”

ดวงตาแห่งความมุ่งมั่นทอประกายกล้าของเขา เราเชื่อว่า CEO โนบิตะ ทำได้

%d bloggers like this: