ON THE MOVE PR NEWS “จิสด้า” จัดเสวนาให้ความรู้เรื่องวัตถุอวกาศ โดยมี “เฌอปราง-BNK48” ร่วมเปิดมุมมองผ่านความคิดคนรุ่นใหม่ 03/04/201811/04/2018 admin “จิสด้า” จัดเสวนาให้ความรู้เรื่องวัตถุอวกาศ โดยมี “เฌอปราง-BNK48” ร่วมเปิดมุมมองผ่านความคิดคนรุ่นใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน) จัดเสวนา “นับถอยหลังเทียนกง-1 ตกสูงโลก บทสรุปจากห้วงอวกาศ” เพื่อให้สาธารณชนเกิดการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตามและเฝ้าระวังวัตถุอวกาศ นำโดย ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์วงโคจร จากจิสด้า, คุณพรเทพ นวกิจกนก หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์วงโคจรและวัตถุอวกาศจากจิสด้า, คุณกฤษณ์ คุณผลิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), ผศ.ดร.ชูเกียรติ น้อยฉิม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ร้อยตรีพงศธร ศิริสาคร ผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และ คุณเฌอปราง อารีย์กุล หรือ เฌอปราง–BNK48 เข้าร่วมงาน ณ ลานเอเทรี่ยม 3 ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในช่วงระหว่างการเสวนาเชิงวิชาการ ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์วงโคจรของจิสด้า กล่าวว่า “จิสด้า ในฐานะหน่วยปฎิบัติภารกิจทางด้านอวกาศของไทย ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยทางจิสด้ามีโปรแกรมที่ใช้ติดตามความสูงของสถานีอวกาศ รวมไปถึงความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติเพื่อติดตามการตกของสถานีอวกาศเทียงกง-1 ด้วยข้อมูลจากโปรแกรม EMERALD ที่จิสด้าพัฒนาขึ้น และข้อมูลจาก China manned space พบว่าสถานีอวกาศเทียนกง 1 โคจรรอบโลกด้วยความสูงเฉลี่ย ณ วันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 198 กิโลเมตร ทั้งนี้เมื่อสถานีอวกาศเทียนกง 1 ตกสู่พื้นผิวโลกจะมีการแตกเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็ก และหลงเหลือสู่พื้นโลกเพียงเล็กน้อย เนื่องจากถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศที่มีความร้อนสูงจนทำให้โลหะต่างๆ เกิดการระเหิดและกลายเป็นไอในที่สุด ทั้งนี้ โอกาสที่ชิ้นส่วนจะตกในพื้นที่ของประเทศไทยมีน้อยกว่าร้อยละ 0.1” ขณะที่ นายกฤษณ์ คุณผลิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาด บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และเป็นผู้แทนศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ เผยว่า “ปัจจุบันมีขยะอวกาศอยู่ในวงโคจรชั้นต่ำประมาณ 500,000 ชิ้น และมีดาวเทียมที่ใช้งานได้อยู่ประมาณ 50,000 ดวง ส่วนโอกาสของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ที่จะตกสู่ไทยนั้นเขาคำนวณว่ามีโอกาสประมาณ 0.01%” ด้าน “เฌอปราง อารีย์กุล” กัปตันวง BNK48 ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ได้มาร่วมงานเสวนาเปิดมุมมองผ่านเกี่ยวกับอวกาศ ให้ความเห็นว่าแม้เทคโนโลยีอวกาศจะทำให้มีความเสี่ยงจากขยะอวกาศ แต่ก็มีประโยชน์ที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายขึ้น มีความแม่นยำในการทำงานต่างๆ มากขึ้น เรื่องวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ดีใจมากๆที่ได้มาร่วมเสวนาวันนี้ ส่วนตัวชอบเรื่องเกี่ยวกับอวกาศอยู่แล้ว และติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และอวกาศตลอดอยู่แล้ว” โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา หน่วยงานติดตามและรายงานสถานการณ์ของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน หรือ China Manned Space Agency: CMSA ประกาศผ่านทางเว็บไซต์ว่า เมื่อเวลา 08.15 ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 07.15 ตามเวลาในประเทศไทย สถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน ได้ตกสู่พื้นโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โดยชิ้นส่วนทั้งหมดของเทียนกง 1 ได้ถูกเผาไหม้ไประหว่างเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ไม่มีรายงานความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดมาจากการตกลงมาของเทียนกง 1 แต่อย่างใด ซึ่งสถานีอวกาศ ‘เทียนกง-1’ ของจีน ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลกเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554 จากฐานปล่อยจรวดเมืองจิ๋วฉวน มณฑลกานซู มีวงโคจรห่างจากโลก 350 กม. มีขนาด 8.5 ตัน และเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน การตกของวัตถุจากอวกาศที่ตกมายังพื้นผิวโลกนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มมีการส่งดาวเทียมดวงแรกได้ “สปุตนิก” ของสหภาพโซเวียต โดยทั่วไปแล้วชิ้นส่วนส่วนใหญ่ของดาวเทียมจะถูกเผาไหม้ไปกับชั้นบรรยากาศ แต่กรณีที่เป็นสถานีอวกาศที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวเทียม จะมีชิ้นส่วนบางชิ้นจะเผาไหม้ไม่หมดตกสู่พื้นผิวโลก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ที่ผ่านมากว่า 60 ปี ชิ้นส่วนจากอวกาศที่ตกลงมาสู่พื้นผิวโลกนั้นไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ให้ชีวิตและทรัพย์สินแม้แต่ครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม กฎหมายอวกาศหรือข้อตกลงทางด้านอวกาศมีการกล่าวถึงรายละเอียดของการชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากดาวเทียมหรือสถานีอวกาศ โดยประเทศเจ้าของจะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย Share this:Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Facebook (Opens in new window)Click to print (Opens in new window)Click to share on LinkedIn (Opens in new window)Click to share on Tumblr (Opens in new window)Click to share on Pocket (Opens in new window)Click to share on Telegram (Opens in new window)Click to share on WhatsApp (Opens in new window)Click to share on line (Opens in new window)Click to email a link to a friend (Opens in new window)Like this:Like Loading... Related