เอ็กซ์พีเดีย เผยนักท่องเที่ยวไทย ยอมยกเลิกหรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนเพราะติดงาน สูงถึง 75% ครองอันดับหนึ่งของโลก
เอ็กซ์พีเดีย เผยนักท่องเที่ยวไทย ยอมยกเลิกหรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนเพราะติดงาน สูงถึง 75% ครองอันดับหนึ่งของโลก
ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมามีพลังจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน
กรุงเทพฯ – 27 กุมภาพันธ์ 2561 : เอ็กซ์พีเดีย (Expedia.co.th®) เว็บไซต์บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์แบบครบวงจรอันดับหนึ่งของโลก เปิดเผยข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้พักผ่อนระหว่างการเดินทางอย่างแท้จริง (Vacation Deprivation Study) ประจำปี 2560 โดยทำการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มคนวัยทำงานจำนวน 15,000 คน ใน 30 ประเทศทั่วโลก ว่าเหตุใดจึงไม่สามารถใช้ช่วงเวลาพักผ่อนในวันหยุดของตนเองได้อย่างเต็มที่ จากการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของพนักงานประจำจำนวน 300 คน ในประเทศไทย ปรากฏว่าคนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าพวกเขาสมควรได้รับวันลาพักร้อนมากขึ้นถึงร้อยละ 81 ติดโผ 1 ใน 5 อันดับสูงสุดในเอเชีย โดยเกาหลีใต้ครองอันดับหนึ่ง ร้อยละ 88 อันดับสองฮ่องกง ร้อยละ 86 อันดับสามไต้หวันร้อยละ 84 และอินเดียเท่ากับไทยคือร้อยละ 81 ผลสำรวจยังพบว่าร้อยละ 76 ของคนไทยใช้เวลาว่างช่วงพักร้อนในการทำงานตามความฝัน
คุณ ซิมอน ฟิเก้ ผู้จัดการทั่วไป เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป
นายซิมอน ฟิเก้ ผู้จัดการทั่วไป เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย กล่าวว่า “เอ็กซ์พีเดียทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ขัดขวางการลาพักร้อนเป็นประจำทุกปี โดยจะพิจารณาถึงพฤติกรรมของการลาพักร้อนที่แตกต่างกันในหลายทวีป ในขณะที่ความแตกต่างของลักษณะนิสัยและผลกระทบทางอารมณ์ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นต้นเหตุที่หยุดพักร้อนไม่ได้ คนส่วนใหญ่ในบางประเทศจำนวนร้อยละ 80 – 90 บอกว่าการลาพักร้อนทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุขมากขึ้น พักผ่อนได้ดีขึ้นและใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น เครียดน้อยลงและผ่อนคลายมากขึ้น ความรู้สึกเหล่านี้สัมพันธ์กับอารมณ์ซึ่งส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น”
จำนวนของคนที่ไม่ใช้วันลาพักร้อนสูงขึ้นทั่วโลก ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขึ้นนำ
จากผลการศึกษาถึงปัจจัยที่ขัดขวางการลาพักร้อนนั้นเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในปี 2560 กลุ่มผู้ใหญ่ที่ทำงานเต็มเวลาทั่วโลกรู้สึกว่าไม่อยากลาหยุดพักร้อนมีจำนวนร้อยละ 53 เพิ่มขึ้นกว่าปี 2559 ที่มีจำนวนร้อยละ 49 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับอเมริกาและยุโรป ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเป็นผู้นำในเรื่องที่คนไม่ใช้วันลาพักร้อนเพื่อหยุดพักผ่อน โดยกลุ่มคนทำงานในประเทศเกาหลีใต้มีจำนวนมากที่สุดถึงร้อยละ 81 ที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกลิดรอนวันลาพักร้อน
รูปที่ 1. กราฟแสดงข้อมูลของผู้ใหญ่ที่ทำงานเต็มเวลาที่รู้สึกว่าถูกลิดรอนวันลาพักร้อนมากที่สุดใน 30 ประเทศทั่วโลก
(จากขวาไปซ้าย)ซิมอน ฟิเก้,เทย่า โรเจอร์ส,คุณหมอกริช – นพ. สกิทา ม่วงไหมทอง และพิธีกรสาว
นายจ้างไทยสนับสนุนให้มีวันลาพักร้อนประจำปีเพิ่มขึ้น แต่ลูกจ้างยังคงใช้วันลาพักร้อนน้อยกว่าที่กำหนด
จากการศึกษาข้อมูลเชิงลึกพบว่าเหตุผลจริงๆ ที่ทำให้ลูกจ้างประจำชาวไทยรู้สึกว่าเขาไม่ได้ใช้วันลาพักร้อนประจำปีอย่างเต็มที่มีถึงร้อยละ 51 ของจำนวนลูกจ้างประจำที่ใช้วันลาพักร้อนเพียง 2-3 วันต่อปี ซึ่งน้อยกว่าวันลาพักร้อนประจำปีที่พวกเขาได้รับ โดยที่เหตุผลนั้นก็ไม่ใช่ว่านายจ้างไม่สนับสนุน
ที่จริงแล้ว ลูกจ้างคนไทยจำนวนร้อยละ 55 เห็นด้วยที่นายจ้างของพวกเขาให้การสนับสนุนการลาหยุดพักร้อน ซึ่งลูกจ้างส่วนใหญ่จะใช้วันลาพักร้อนโดยเฉลี่ย 8 วันต่อปี ซึ่งน้อยกว่าวันหยุดประจำปีที่พวกเขาได้รับโดยเฉลี่ย 10 วัน ต่อปี ด้วยเหตุผลส่วนใหญ่คือ:
- ลูกจ้างต้องการที่จะเก็บวันลาพักร้อนไว้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในอนาคตร้อยละ ร้อยละ 45
- ตารางการทำงานลูกจ้างไม่สามารถลาพักร้อนได้หรือจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอกับงาน ร้อยละ 37
- มีความยุ่งยากในการจัดตารางเวลาวันหยุดพักร้อนที่เหมาะกับครอบครัว คู่รักหรือเพื่อน ร้อยละ 30
- ลูกจ้างต้องการที่จะมีลาพักร้อนไว้ใช้ในปีถัดไปเพื่อจะได้มีวันลามากขึ้น ร้อยละ 30
สาเหตุของการถูกลิดรอนวันหยุด
คนทำงานส่วนใหญ่ในหลากหลายสาขาอาชีพต่างถูกลิดรอนวันลาพักร้อน บ้างก็ให้เหตุผลว่าเพราะขาดรายได้และอีก หลายคนบอกว่าเขาไม่สามารถหยุดงานได้
หนึ่งในสามของลูกจ้างประจำทั่วโลกใช้วันลาพักร้อนน้อยกว่าที่พวกเขาได้รับ ใกล้เคียงกับผลสำรวจที่พบในปี 2559 ลูกจ้างชาวเอเชียค่อนข้างมากจะทิ้งวันลาพักร้อนของตัวเองไว้ที่โต๊ะทำงาน ในจำนวนนั้นเป็นชาวญี่ปุ่นร้อยละ 65 ชาว มาเลเซียร้อยละ 63 และชาวอินเดียร้อยละ 55 ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้วันลาพักร้อนน้อยกว่าที่พวกเขาได้รับ ลูกจ้างจำนวนมากให้เหตุผลว่า พวกเขามีงานยุ่งมากเกินกว่าที่จะจัดสรรเวลาไปใช้วันหยุดได้หมด ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชาวเกาหลีใต้ร้อยละ 70 ชาวอินเดียร้อยละ 64 และชาวญี่ปุ่นร้อยละ 62
อาชีพที่ถูกลิดรอนวันหยุดมากที่สุดได้แก่:
- งานการตลาดและสื่อสารมวลชน ร้อยละ 66
- งานด้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 62
- งานด้านการศึกษา ร้อยละ 47
- องค์กรภาครัฐ ร้อยละ 49
อาชีพที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถลาหยุดพักร้อนได้ ได้แก่:
- ด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 52
- ด้านการตลาดและสื่อสารมวลชน ร้อยละ 45
- ด้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 41
- ธุรกิจขายปลีก ร้อยละ 40
- ด้านการศึกษาร้อยละ 37
อาชีพที่รายงานระบุว่าไม่สามารถหาเวลาว่างจากการทำงานได้คือ งานด้านการเงินและกฎหมาย ร้อยละ 39
การลาพักร้อนไม่ใช่เรื่องที่ต้องรอแพทย์สั่ง
การลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและภาวะทางอารมณ์อย่างมาก โดยจำนวน 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั่วโลกบอกว่าพวกเขากลับมาทำงานด้วยความรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งลูกจ้างที่อยู่ในประเทศกำลัง พัฒนาส่วนใหญ่บอกว่าพวกขารู้สึกว่าพวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นหลังจากลาพักร้อน โดยชาวบราซิล มีจำนวนมากถึงร้อยละ 70 ชาวอินเดียร้อยละ 66 และชาวเอมิเรตร้อยละ 60
ทัศนคติที่ดีขึ้นก็ส่งผลให้คนในหลายๆ ประเทศลาพักผ่อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเม็กซิโกมีจำนวนร้อยละ 64 อาร์เจนตินาร้อยละ 62 สหรัฐอเมริการ้อยละ 60 และอินเดียร้อยละ 59 จำนวนครึ่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั่วโลกยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและมีจำนวนสูงขึ้นที่กล่าวถึงข้อดีเรื่องนี้ โดยในทวีปเอเชียนั้น ชาวไทยสูงเป็นอันดับหนึ่งร้อยละ 66 ชาวอินเดียร้อยละ 65 และไต้หวันร้อยละ 64
ลูกจ้างในทวีปเอเชียจำนวนมากมีแนวโน้มและความคิดว่าควรจะนับ “วันสุขภาพจิต (mental health day)” รวมเป็น วันหยุดพักผ่อนประจำปี ซึ่งลูกจ้างที่มีแนวคิดที่ชัดเจนด้านนี้เป็นชาวไต้หวันร้อยละ 80 ชาวเกาหลีใต้ร้อยละ 77 และ ชาวไทยร้อยละ 73
คุณหมอกริช – นพ. สกิทา ม่วงไหมทอง
คุณหมอกริช – นพ. สกิทา ม่วงไหมทอง คุณหมอพิธีกรรายการ “The Dr. Oz by Siriraj หรือ เดอะ ดร. ออซ ไทยแลนด์” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาพและประโยชน์ที่ได้จากการลาหยุดพักผ่อน อย่างน่าสนใจว่า “มี งานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า การลาหยุดเพื่อพักผ่อนไม่เพียงแต่เป็นผลดีสำหรับตัวคุณ แต่ยัง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นได้ ซึ่งหมายความว่านั่นส่งผลดีกับองค์กรและอาชีพของคุณด้วยเช่นกัน การศึกษาวิจัยเรื่อง Vacation Deprivation ของเอ็กซ์พีเดีย จึงทำให้รู้ว่าเหตุใดนักท่องเที่ยวจึงถูกลิดรอนวันหยุดและไม่ได้พักผ่อนระหว่างการเดินทางอย่างแท้จริงนั้น โดยเห็นได้ชัดว่า ลูกจ้างชาวไทยมีแนวโน้มที่จะยอมละทิ้งแผนการเดินทางพักผ่อนของพวกเขาเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ในทางกลับกัน ผมคิดว่านายจ้างควรเริ่มต้นการปลูกฝังและการฝึกให้ลูกจ้างรู้จักวางแผนการเรื่องความสมดุลในชีวิตระหว่างการทำงานและการพักผ่อนเพื่อสร้างแรงงานมุ่งมั่นและมีสุขภาพที่ดีในการทำงาน”
เสพติดเทคโนโลยี
อาจเป็นเรื่องโชคร้ายหรืออย่างไร ที่โลกเรากลายเป็นโลกที่ให้ความสำคัญกับดิจิตอลมากขึ้นทุกวัน บ่อยครั้งที่ผู้คนมัวแต่เช็คอีเมลที่ทำงานว่ามีข้อความเข้าหรือไม่ บ้างก็เช็คดูว่ามีฝากข้อความเสียงไว้หรือเปล่าในขณะที่ลาหยุดพักร้อน ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจปี 2560 คนกลุ่มนี้จำนวนร้อยละ 27 เข้าเช็คอีเมลอย่างน้อยวันละครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีจำนวนร้อยละ 24
ประเทศที่คนส่วนใหญ่เช็คอีเมลที่ทำงานอย่างน้อยวันทุกวันระหว่างลาพักร้อนได้แก่ ชาวไต้หวัน ร้อยละ 48 ชาวอินเดียร้อยละ 39 ชาวบราซิลและชาวดัตช์ ร้อยละ 36 ส่วนคนไทยร้อยละ 28
นักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีแนวโน้มว่าปล่อยวางได้มากกว่าชาติอื่น มีคนเพียงจำนวนน้อยที่เช็คอีเมลที่ทำงานทุกวัน เป็นชาวเดนมาร์ก ร้อยละ 8 ชาวฟินแลนด์ ร้อยละ 12 และชาวเยอรมัน ร้อยละ 16 การเข้าเช็คและตอบอีเมลตลอดเวลานี้เป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดมากขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมีจำนวนถึงร้อยละ 61 ชาวเยอรมันร้อยละ 51 ชาวอาร์เจนตินาร้อยละ 51 ชาวสเปนและชาวอาร์เจนตินาร้อยละ 51 เทียบกับคนไทยที่มีจำนวนร้อยละ 30
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกหรือร้อยละ 45 กล่าวว่า ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นตามมาหลังลาหยุดนั้นขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาวางแผนการลานานแค่ไหน ตัวอย่างเช่น คนไทยถึงร้อยละ 74 ฮ่องกงร้อยละ 67 และญี่ปุ่นร้อยละ 64 จะพิจารณาการวางแผนลาพักร้อนมากที่สุด นอกจากนี้ ในจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48 บอกว่า พวกเขาต้องยกเลิกหรือเลื่อนวันลาพักร้อนออกไปเนื่องจากการทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยเป็นคนไทยร้อยละ 75 ชาวเอมิเรตร้อยละ 70 และชาวอินเดียร้อยละ 67
เทย่า โรเจอร์ส
เทย่า โรเจอร์ส นักแสดงนางแบบและวีเจชื่อดัง ได้แบ่งปันมุมมองของเธอในการบริหารเวลาอย่างสมดุล โดยจัดสรรตารางการทำงานงานไปพร้อมกับความสนุกตื่นเต้นในการท่องเที่ยวสำรวจโลก “งานของเทย่าเป็นงานในวงการบันเทิงจนอาจจะเอาเวลาทั้งหมดของเทย่าไป แล้วก็เหลือเวลาน้อยมากที่จะไปท่องเที่ยวสำรวจโลกและผ่อนคลายกับคนที่เทย่ารัก แต่ก็ยังมีข้อดีที่ว่าการที่เทย่าต้องเดินทางไปทำงานในที่ต่างๆ บ่อยครั้ง เทย่าถือโอกาสได้ท่องเที่ยวไปด้วย ซึ่งเทย่าคิดว่า นี่เป็นสิ่งช่วยในการวางแผนตารางการทำงานของคุณเป็นอย่างดีและยังเตือนให้ตัวเองได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศและผ่อนคลายไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปบำบัดในสปาท้องถิ่นหรือสปาที่มีชื่อเสียงแต่ละแห่ง หรือการขับรถไปตามถนนชมวิวเลียบชายฝั่ง ไม่มีอะไรที่ทำให้เทย่ามีความสุขมากไปกว่าการผจญภัย ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ล้วนแล้วแต่ทำให้เทย่ารู้สึกกระปรี้กระเปร่าและผ่อนคลายยิ่งขึ้นและพร้อมที่จะกลับมาทำงานได้ดีขึ้นไปอีก”
“นับเป็นความภูมิใจของเอ็กซ์พีเดีย ที่เราทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่ายในราคาที่ไม่แพง เราช่วยให้ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อหาประสบการณ์และมุมมองใหม่ในการเดินทาง เราหวังว่าจะได้เห็นคนไทยและครอบครัวใช้เวลาว่างในการเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย หรือจะบินไปเที่ยวยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงในวันหยุดสุดสัปดาห์” นายซิมอน กล่าวสรุป