นวัตกรรม CardioInsight วินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแม่น

แพทย์ตื่นตัวนวัตกรรม CARDIOINSIGHT วินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแม่น พร้อมเปิดใจผู้ป่วยรอดชีวิตจากโรคไหลตาย เหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ หลังสถิติทั่วโลกพบเป็น ต่อ หมื่นคนตายเงียบๆ เฉียบพลัน

          วงการแพทย์ทั่วโลกยังคงตื่นตัวกับการวิจัยและพัฒนาด้านการวินิจฉัยรักษาผู้ ป่วยโรคไหลตาย (Brugada Syndrome) อย่างต่อเนื่อง โรคไหลตาย” หรือบางคนเรียก ว่าโรคหัวใจวายเฉียบพลัน” เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ มักพบว่าสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคร้ายแรงใด แต่พอเข้านอนแล้วหัวใจก็หยุดทำงานไป เฉย ๆ จึงเป็นเรื่องที่หลายคนหวาดกลัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศวัยโดยเฉพาะคนวัยทำงานและคนสูงอายุ โดยองค์กร National Organization for Rare Disorder ให้ข้อมูล ว่าทั่วโลกพบคนเป็นโรคไหลตายในอัตรา คนต่อ 10,000 คน ถือเป็นอัตราที่น่าตกใจ

 นวัตกรรมCardioInsight

 ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภัยเงียบที่อาจสร้างความเสียหายอย่างถาวรให้กับหัวใจ หรือ รุนแรงถึงขั้นผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เพราะบางรายไม่แสดงอาการให้เห็นขณะมาตรวจหรือมีอาการเกิดขึ้น เพียงบางเวลา ขณะที่บางรายมีอาการเช่น วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวน หน้าอก เป็นลมหมดสติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุความผิดปกติ อย่างแม่นยำตรงจุด นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจแปซิฟิก ริม ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยา ไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กล่าวและให้ข้อมูลเสริมว่า

2. เปิดตัว CardioInsight

 “ปัจจุบันมีการคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยี CardioInsight  หรือ CardioInsight Mapping Solution ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างแผนที่ไฟฟ้าแบบ 3 มิติ สามารถวิเคราะห์ตรวจจับทิศทาง สัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจได้ทั่วทั้งดวง ซึ่งเครื่องมือนี้มีลักษณะเป็นเสื้อกั๊กที่ฝังอิเล็กโทรดตรวจจับคลื่น ไฟฟ้าหัวใจจำนวน 252 ตำแหน่งบนเสื้อสามารถตรวจจับทิศทางสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจได้ทั่วทั้งดวง ยิ่งเมื่อนำข้อมูลที่ได้ประมวลผลร่วมกับข้อมูลจากเครื่อง CT Scan จะเห็นภาพชัดเจนว่าเกิดความผิด ปกติในจุดไหน โดยไม่ต้องผ่านหรือสอดใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเหมือนในอดีต จึงปลอดภัย ยิ่งขึ้น ลดการบาดเจ็บ ความเครียด และวิตกกังวลของผู้ป่วยลงไปได้ ข้อสำคัญคือช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาได้แม่นยำ เข้าถึงตำแหน่งเฉพาะได้ดียิ่งขึ้น”

เกียรติศักดิ์ ไชยนนท์_37 ปี รอดจากโรคไหลตาย
เกียรติศักดิ์ ไชยนนท์_37 ปี รอดจากโรคไหลตาย

ฟากผู้ป่วยที่เคยเฉียดตายด้วยโรคไหลตาย อย่างหนุ่มเมืองร้อยเอ็ด นายเกียรติศักดิ์ ไชยนนท์ อายุ 37 ปี เล่าถึงการรอดชีวิตหวุดหวิดว่า วันหนึ่งอยู่ ๆ ผมก็นอนหลับไป คนมาเรียกก็ไม่รู้สึกตัว จนต้องรีบพาส่งโรงพยาบาล  คุณหมอบอกว่าผมเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและให้ผมใส่เครื่อง กระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะช็อกผมทุกครั้งทีเกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อช่วยให้หัวใจผมกลับมาสู่สภาวะปกติ แต่ทุกครั้งที่เครื่องช็อกหัวใจมันเหมือนคนโดนไฟช็อตแต่มาช็อตที่หัวใจ รู้สึกเจ็บและ อึดอัดมาก ไม่รู้เลยว่าเครื่องจะ ช็อกเราขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ เป็นภาวะที่เครียดอยู่ไม่เป็นสุขเลย แต่เมื่อ ไม่นานมานี้ผมได้รับการส่งตัวให้มารับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง CardioInsight หลังจากนั้น เป็นต้นมาผมก็ไม่เคยถูกเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจช็อกอีกเลย รู้สึกดีใจมากที่ได้ กลับมาใช้ชีวิต แบบคนปกติ

Infographic โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ_resize

          ใครว่าอายุน้อยจะไม่มีสิทธิ์เป็นโรคไหลตาย  นายธนุต กิ่งงาม วัย 19 ปี หนุ่มน้อยอาชีพช่าง ทำฝ้าเพดาน เล่านาทีชีวิตว่า “ตอนนั้นอายุ 17 ปี ขณะกำลังนั่งคุยเล่นกับเพื่อน ๆ อยู่ดี ๆ ก็หลับไป เลย มารู้ตัวอีกทีก็อยู่โรงพยาบาลแล้วเพื่อนบอกว่าเรียกเท่าไหร่ก็ไม่ตื่นเลยช่วยกันปั๊มหัวใจขณะเอาผม ขึ้นรถส่งโรงพยาบาล พอมาถึงโรงพยาบาลเขาก็ปั๊มหัวใจต่อ ผมเป็นโรคไหลตายมา 2 ปีแล้วที่ต้องใส่ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจมันทำให้เราใช้ชีวิตยากมาก ต้องอยู่กับความกลัวหวาดระแวงตลอดว่าเมื่อไหร่เครื่องจะกระตุกมาช็อกหัวใจอีก สุดท้ายคุณหมอส่งผมมารับการตรวจด้วยCardioInsight ซึ่งผมสวมใส่เสื้อกั๊กนี้แค่ แป๊บเดียวเท่านั้น รู้สึกเย็นๆ เวลาใส่ ไม่เจ็บอะไร ผมไม่ต้องเจ็บตัวและ เสี่ยงกับการสอดสายสวนตรวจ เข้าไปในร่างกายบริเวณหัวใจตรวจแบบเมื่อก่อนอีก  ตอนนี้ผมใช้ ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไปแล้วครับ และที่สำคัญต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต งดการดื่มของ มึนเมา ไม่สูบบุหรี่ ก็อยากจะขอบคุณผู้ คิดค้นประดิษฐ์เครื่องนี้ขึ้นมาและทีมแพทย์ผู้รักษา

       ชารู รามันนาธาน ผู้ก่อตั้ง CardioInsight   ด้านนางสาวชารู รามันนาธาน ผู้ก่อตั้ง CardioInsight จากสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลในงานเปิดตัวนวัตกรรมเทคโนโลยี CardioInsight ตรวจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ประเทศไทยนับเป็นแห่งที่ ของโลกและเป็นแห่งแรกของเอเชียที่มีนวัตกรรมนี้ซึ่งอยู่ที่ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยโรงพยาบาล อีก 2 แห่งที่มีเครื่องมือนี้ คือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยบอร์กโดซ์ใน ประเทศฝรั่งเศส และโรงพยาบาลแฮมเมอร์สมิธในประเทศอังกฤษ”

          ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือ ช้าเกินไป โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ประวัติสุขภาพ และปัจจัยแวดล้อมของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ภาวะทุพโภชนาการ ความเครียด วิตกกังวล การดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นผิด ไขมันในเลือดสูง ลิ้นหัวใจรั่ว หรือแม้กระทั่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าตัวเองอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อย่าละเลยที่จะพบแพทย์เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที

%d bloggers like this: